แซ่ของคนจีน

แซ่ของคนจีน

เมื่อพบกันครั้งแรก คนจีนมักเริ่มทักทายว่า”ท่านแซ่อะไร” แทนที่จะถามชื่อกัน สำหรับคนที่ไม่คุ้นเคยกัน เวลาเรียกอีกคนหนึ่ง ก็จะเรียกโดยการใช้แซ่ เช่น คุณหวาง(王先生)คุณจาง(张先生)หรือคุณลุงหวาง(王伯伯)คุณลุงจาง(张伯伯)หรือแซ่ของคนนั้นนำหน้าตำแหน่ง เช่น ประธานเหมา(毛主席) ในการเรียกชื่อขอบคุณจีน จะมีการระบุแซ่เป็นลำดับแรก แล้วจึงตามด้วยชื่อ ซึ่งต่างกับการเรียกชื่อในประเทศส่วนใหญ่ของโลกที่เรียกชื่อก่อนนามสกุล
ตามประเพณีจีน ผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว ก็ยังคงใช้แซ่เดิมของตนได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนแซ่หรือนามสกุลตามสามี แต่ก็มีการเรียกภรรยาของคนแซ่จางว่านางจาง หรือภรรยาของคนแซ่หวางเป็นนางหวางได้ เพราะไม่รู้แซ่ของคนที่เป็นภรรยา รู้แต่แซ่ของสามี  สุภาพสตรีบางคนเมื่อแต่งงานแล้ว อาจเรียกชื่อและนามสกุลของตัวเองโดยการเติมแซ่ของสามีก่อนแซ่ของตนเอง เช่น หลินเจิ้งเว่ยเอ๋อ(林郑月娥) โดยใช้แซ่หรือชื่อสกุลของสามี”หลิน”ตามด้วยแซ่ของตนเอง“郑“ แล้วตามด้วยชื่อของตนเอง
สำหรับลูกๆ จะใช้แซ่หรือชื่อสกุลของบิดา  การมีลูกโดยเฉพาะลูกชาย จะถือว่ามีผู้สืบสกุล  เพราะลูกชายเมื่อมีลูกหลานแล้ว จะใช้แซ่หรือสกุลของบิดาสืบต่อๆกันไป  แต่ถ้าเป็นลูกสาว แม้ใช้ชื่อสกุลของบิดาก่อนแต่งงาน หรือหลังจากแต่งงาน  แต่เมื่อมีลูกแล้ว ลูกของเขาก็ต้องใช้แซ่หรือชื่อสกุลตามสามีของเขา คนจีนจึงมักให้ความสำคัญกับลูกชายมากกว่าลูกสาว เพราะลูกชายเป็นผู้สืบสกุล
แซ่(姓)ในภาษาจีนกลางอ่านว่า”ซิ่ง” ซึ่งเป็นการบ่งบอกถึงชื่อตระกูล ที่สืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน  ตัวอักษรคำว่าแซ่มีส่วนประกอบสองส่วน ข้างซ้ายเป็นคำที่แปลว่าผู้หญิงหรือสตรี(女)ส่วนข้างขวาเป็นคำที่แปลว่า”เกิด“(生)ดังนั้น คำ”แซ่”จึงมีความหมายที่แสดงว่า เผ่าพันธุ์ที่มีสตรีเป็นหัวหน้าเผ่าหรือผู้กำเนิดตระกูล   ตามประเพณีจีน ชายหญิงที่มีแซ่เดียวกัน จะไม่แต่งงานกัน เพราะถือว่า มีการสืบเชื้อสายมาจากครอบครัวเดียวกัน แม้เวลาล่วงเลยมาแล้วนับหลายร้อยหลายพันปี และชายหญิงที่จะแต่งงานกันอาศัยอยู่ในมณฑลที่อยู่ห่างไกลกันมาก ก็มักจะไม่แต่งงานกันถ้ามีแซ่เดียวกัน
แซ่ของคนจีนมีความเป็นมาที่ยาวนาน  ในสมัยสังคมชนเผ่า มีการใช้แซ่ตามมารดาผู้ให้กำเนิด  ต่อมา สังคมจีนมีการขยายตัว มีประชากรเพิ่มขึ้น ประกอบกับการมีการแบ่งชนชั้นตามฐานะ และยศบรรดาศักดิ์  จึงมีการใช้แซ่ในลักษณะที่แตกต่างกัน  มีผู้กล่าวว่า คนจีนเป็นประเทศแรกในโลกที่มีการใช้ชื่อสกุล
โดยทั่วไป คนจีนในสมัยโบราณมีการใช้แซ่หรือชื่อสกุลในหลายลักษณะคือ
ก. การใช้แซ่ตามชื่อชนเผ่า
ข.ใช้แซ่ตามถิ่นเกิด เช่น รัฐหรือเมืองที่ตนอาศัยอยู่  เช่นในสมัยเลียดก๊กเมื่อสองพันกว่าปีก่อน ประเทศจีนมีรัฐน้อยใหญ่อยู่จำนวนมาก คนที่อาศัยอยู่ในรัฐเดียวกันมักมีแซ่หรือชื่อสกุลเหมือนกัน
ค.ใช้แซ่ตามตำแหน่งหรือยศบรรดาศักดิ์ของบรรพบุรุษและที่เป็นต้นตระกูล
ง.ใช้แซ่ตามตำแหน่งทางราชการ
จ.ใช้แซ่ตามอาชีพ
ฉ.ใช้แซ่ตามการออกเสียงของชื่อสกุลเป็นภาษาจีนของชนกลุ่มน้อย
ช.ใช้แช่ที่กษัตริย์ทรงตั้งให้
ซ. เปลี่ยนแซ่เพื่อลี้ภัยการเมืองหรือเพื่อหลบเลี่ยงการถูกลงโทษ
คนจีนเมื่อพบคนแซ่เดียวกัน มักจะรู้สึกมีความสนิทสนมใกล้ชิดกัน และพูดว่า”ในสมัยก่อนเราเป็นคนครอบครัวเดียวกัน”  แท้ที่จริง จากการขยายตัวของประชากรและการอพยพย้ายถิ่นฐาน คนที่มีแซ่เดียวกันอาจเป็นคนที่อาศัยอยู่ในมณฑลที่ห่างไกลกันและใช้ภาษาพื้นเมืองที่แตกต่างกันมาก  อย่างไรก็ตาม ประเพณีที่ชายหญิงที่มีแซ่เดียวกันไม่แต่งงานกันก็ยังมีการยึดถือกันอยู่จนถึงปัจจุบัน
แช่ของคนจีนมีอยู่เป็นจำนวนมากน้อยเพียงใด? ถ้านับรวมกันแล้วมีจำนวนนับหมื่น แต่ที่ใช้กันอยู่อยู่ทั่วไปมีประมาณสามถึงสี่พันแซ่  มีทั้งแซ่ที่เป็นพยางค์เดียวคือมีอักษรตัวเดียวกับแซ่ที่มีสองพยางค์  แต่แซ่ส่วนใหญ่จะมีพยางค์เดียวหรือมีตัวอักษรตัวเดียว  ในสมัยราชวงศ์ซ่ง(宋) มีผู้รวบรวมแชทที่มีการใช้กันมากในสมัยนั้นจำนวน494แซ่  ในจำนวนนี้มีแซ่ที่เป็นพยางค์เดียว434แซ่ ที่เป็นสองพยางค์หรือมีอักษรสองตัวมีอยู่เพียง 60 แซ่
จะการสำรวจของรัฐบาลจีนในปีค.ศ. 2017 พบว่า แซ่ที่มีคนใช้มากที่สุด สามอันดับแรกคือ หลี่(李)หวาง(王)และจาง(张)โดยคนแซ่หลี่ มีจำนวนมากถึงเกือบ 100ล้านคน ส่วนคนแซ่หวางและแซ่จางก็มีอยู่ ประมาณ 90 ล้านคน ส่วนแซ่อื่นๆพี่มีคนไช้กันมาก ก็มี หลิว(刘)เฉิน(陈)หยาง(杨)หวง(黄)อู๋(吴)จ้าว(赵)โจว(周)เป็นต้น
นอกจากในประเทศจีนแล้ว ประเทศอื่นที่ในทวีปเอเชียบางประเทศ เช่นเกาหลีและเวียดนาม ก็มีการใช้แซ่  ส่วนในประเทศญี่ปุ่น ถ้ามีการใช้ชื่อสกุลในลักษณะที่คล้ายคลึงกับแซ่ในประเทศจีน แต่มีการใช้ตัวหนึ่งสีอ และมีการออกเสียงที่แตกต่างกัน
สำหรับคนแซ่เฉิน (หรือแซ่ตั้งหรือตั๊งในภาษาแต้จิ๋ว)(陈)ซึ่งเป็นแซ่ใหญ่ของคนจีนในประเทศไทยและในประเทศอื่นๆในเอเชียอาคเนย์ เป็นแซ่ที่มีคนใช้กันมาก นายมณฑลที่อยู่ทางใต้ของจีน  ส่วนแซ่อื่นๆที่ที่มีมากในบรรดาคนไทยเชื้อสายจีน ก็มี หลี่(李)หลิน(林)หม่า(马)และ จาง(张)เป็นต้น
เมื่อประมาณ 60 ถึง 70 ปีก่อน คนไทยที่มีเชื้อสายจีน มีการเปลี่ยนชื่อเป็นนามสกุล  แต่ในหลายกรณี เราอาจทายแซ่เดิมของบรรพบุรุษของคนไทยเชื้อสายจีนจากนามสกุลที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันได้  เช่น คนที่มีนามสกุลที่ขึ้นต้นว่า”ลี”หรือ”ลี้” ก็มักมีบรรพบุรุษ ที่แซ่หลี่(李)คนที่มีนามสกุลที่ขึ้นต้นด้วยคำว่าตันหรือตั้ง ก็มักมีบรรพบุรุษที่เป็นคนแซ่เฉิน(陈)หรือตั๊งในภาษาแต่จิ๋ว  คนที่มีนามสกุลที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า”ลิ้ม”หรื”ลืม” มักมีบรรพบุรุษที่แซ่”หลิน(林)หรือแซ่ลิ้มในภาษาแต้จิ๋ว คนที่มีนามสกุลที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า”อึ๊ง”หรือ”เหลือง”ก็มักเป็นคนที่มีบรรพบุรุษที่แซ่”หวง”หรือ”อึ๊ง”(黃)ในภาษาแต่จิ๋ว ส่วนคนที่สืบสกุลมาจากคนแซ่หม่า(马)หรือแบ้ในภาษาแต้จิ๋ว  ก็อาจมีนามสกุล ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า”มา” “ม้า”หรือ”อัศว”ซึ่งแปลว่าม้าเป็นต้น
จนถึงปัจจุบัน ที่คนไทยเชื้อสายจีน แม้มีการเปลี่ยนชื่อและนามสกุล เป็นไทยแล้ว บางคนโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวงการค้า ก็ยังมีการใช้ชื่อภาษาจีนในเวลาที่มีการพบปะสันสันกับสังคมของคนไทยเชื้อสายจีน  และคนที่พี่บรรพบุรุษที่มีแซ่เดียวกัน ก็อาจมีการรวมกลุ่มเป็นสมาคมในหมู่คนที่มีสกุลหรือมีแซ่เดียวกันด้วย

Author: somsaktam

I am an academic who is interested in economic and social problems

2 thoughts on “แซ่ของคนจีน”

  1. dear Mr.somsaktam
    แซ่เฉิง 程 ในภาษาจีนกลาง
    ในภาษาแต้จิ๋ว อ่านว่า อย่างไร

    Like

Leave a comment